ด้านการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล (Digital Transformation)

ประเด็นที่ 3. การประยุกต์ใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศ ในการพัฒนาโรงเรียนบ้านปราสาทเยอ

3.1 ที่มาและความสำคัญ

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้สถานศึกษาหลายแห่งในแต่ละพื้นที่ปิดดำเนินการชั่วคราวและกระทบต่อนักเรียนนักศึกษาหลายพันล้านคนทั่วโลกรวมถึงนักเรียนนักศึกษา 160 ล้านคนในอาเซียนที่จะต้องปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนไปสู่ระบบออนไลน์ ครูผู้สอนก็ต้องเปลี่ยนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางสำคัญ (มติชน, 2563) กระทรวงศึกษาธิการโดยรัฐบาลในปี 2563 จึงมีนโยบายในด้านการพัฒนาการศึกษาในหลายด้าน เช่น การปรับระบบการเรียนรู้ของผู้เรียน การดูแลเด็กปฐมวัย การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การผลิตคัดกรองครูโดยเฉพาะในนโยบายด้านการศึกษายกกำลัง 2 ที่เน้นผู้เรียนต้องเปลี่ยน สถานศึกษาต้องเปลี่ยน ครูต้องเปลี่ยน โดยใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการสอนมากขึ้น

ในยุคปัจจุบัน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร( ICT) ได้ถูกนำเข้ามาใช้ภายใน องค์กร และส่งผลให้กระบวนการทำงานได้เปลี่ยนรูปแบบไป ตัวอย่างเช่น การนำเอาเทคโนโลยีไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e- mail) เข้ามาใช้ภายในองค์กร ตลอดจนลดการใช้กระดาษที่ต้องพิมพ์ข่าวสารและสามารถส่งข่าวสารไปถึงบุคคลที่ต้องการได้เป็นจำนวนมากและรวดเร็ว หรือเทคโนโลยีสำนักงาน ที่เปลี่ยนรูปแบบของกระบวนการทำงานและประสานงานในองค์กร ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานของผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ขององค์กร นอกจากนี้ในท้องตลาดยังมีชุดคำสั่งประยุกต์ (application software) อีกมากมายที่สามารถใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตของงานได้อย่างมาก และเมื่อต่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเข้ากับระบบเครือข่าย ก็จะทำให้องค์การสามารถรับ-ส่งข้อมูลและข่าวสารจากทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้อีกด้วย ดังนั้นในอนาคตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจะกลายเป็นเครื่องมือหลักของพนักงานและผู้บริหารขององค์กร อีกทั้งยังมีการนำไปประยุกต์ใช้กับประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

โรงเรียนบ้านปราสาทเยอจึงได้ประยุกต์ใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศ ในการพัฒนาโรงเรียนบ้านปราสาทเยอ

3.2 วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนาครูให้มีสมรรถนะในศตวรรษที่ ๒๑

2. เพื่อให้ผู้บริหารและครูมีสื่อ นวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

3. เพื่อติดตามนักเรียนเป็นรายคนอย่างต่อเนื่อง สามารถติดตามสถิติการมาเรียน-ขาดเรียนรวมถึงผลการเรียนของนักเรียนเป็นรายคน

4. เพื่อแจ้งเตือนกรณีนักเรียนที่มีความเสี่ยงสูง อันรวมถึงความเสี่ยงทั้งด้านพฤติกรรม เศรษฐกิจ ฐานะ ด้านสุขภาพ และด้านสังคม

5. เพื่อช่วยลดภาระของครูในการประมวลผลข้อมูล และลดภาระทางธุรการ ทำให้สามารถดำเนินการได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น

6. ประมวลผลในระดับชั้นเรียนจนถึงภาพรวมของโรงเรียน เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลในกระบวนการวางแผนพัฒนาโรงเรียน (Evidence-based Planning)

3.3 วิธีการดำเนินการ

1. ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของระบบสารสนเทศในโรงเรียน

2. จัดประชุมอบรม พัฒนาครูในการจัดทำสื่อและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และในการเรียนรู้การใช้งาน ระบบ ระบบ Q-info ,Microsoft Teams ,Google workspace

3 นำระบบ Q-info,Microsoft Teams ,Google workspace มาใช้ในโรงเรียน

4.การนิเทศติดตาม ประเมินผล

5. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน ให้หน่วยงานต้นสังกัดทราบ

3.4 ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

1. เพื่อติดตามนักเรียนเป็นรายคนอย่างต่อเนื่อง สามารถติดตามสถิติการมาเรียน-ขาดเรียนรวมถึงผลการเรียนของนักเรียนเป็นรายคน

2. เพื่อแจ้งเตือนกรณีนักเรียนที่มีความเสี่ยงสูง อันรวมถึงความเสี่ยงทั้งด้านพฤติกรรม เศรษฐกิจ ฐานะ ด้านสุขภาพ และด้านสังคม

3. เพื่อช่วยลดภาระของครูในการประมวลผลข้อมูล และลดภาระทางธุรการ ทำให้สามารถดำเนินการได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น

4. ประมวลผลในระดับชั้นเรียนจนถึงภาพรวมของโรงเรียน เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลในกระบวนการวางแผนพัฒนาโรงเรียน (Evidence-based Planning)

5. ผู้บริหารและครูมีสื่อ นวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

6. ด้านการลดภาระด้านเอกสาร

6.1 ครูผู้สอน: ระบบสารสนเทศ Q-Info ช่วยลดภาระด้านงานเอกสารของครูผู้สอนในการจัดทำเอกสาร อาทิ ปพ.5, ปพ.5.1โดยคุณครูสามารถสั่งพิมพ์ออกจากระบบสารสนเทศ Q-Info ได้เลย ภายหลังจากที่ครูผู้สอนได้บันทึกข้อมูลการเข้าเรียนและผลสัมฤทธิ์ผ่านทางระบบสารสนเทศแล้ว

6.2ครูทะเบียนและวัดผล: ระบบสารสนเทศ Q-Info ช่วยลดภาระในการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารกระดาษจำนวนมาก เพื่อจัดทำรายงานสรุปผลการเรียนการสอนของคุณครูทุกคนภายในโรงเรียน อาทิ ปพ.1 ปพ.2 ปพ.3 ปพ.6 และ ปพ.7

6.3 ผู้อำนวยการโรงเรียน: สามารถเรียกดูรายงานที่จำเป็นต่างๆในการวางแผนนโยบายเพื่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนได้ อาทิ สัดส่วนของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าเกณฑ์ ผลสัมฤทธิ์ในกลุ่มสาระต่างๆเปรียบเทียบกับผลสอบภายนอก อัตราการขาดเรียนของนักเรียนในแต่ละระดับชั้น เป็นต้น