ข้อมูลพื้นฐาน

1. ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา         

                   

ชื่อโรงเรียน  บ้านปราสาทเยอ

ที่อยู่  หมู่ 2 ตำบลปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ

สังกัด  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3

 เปิดสอนระดับชั้น อนุบาลปีที่ 2 ถึงระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3

            

 2. ประวัติโรงเรียนพอสังเขป

โรงเรียนบ้านปราสาทเยอ  ตั้งเมื่อ พ.ศ.2464 หม่อมหลวงช่วงและขุนสรรพวุฒิ  พิสิทธิ์  เป็นผู้ก่อตั้ง มีพระภิกษุมุม บุญโย (หลวงพ่อมุม)  ดำรงตำแหน่งครูใหญ่คนแรก  ผู้บริหารคนที่  17  คนปัจจุบันนางประยงค์์  ร่วมจิตร    เดิมใช้ศาลาวัดปราสาทเยอเหนือเป็นสถานศึกษา ต่อมาสถานที่เรียนคับแคบจึงย้ายมาสร้างอยู่ที่ดิน สาธารณะประโยชน์ เนื้อที่ 17 ไร่3 งาน 91 ตารางวา อยู่ติดถนนสายศรีสะเกษ– ขุนหาญ  เป็นที่ก่อสร้างสถานศึกษาแห่งใหม่ ตั้งอยู่บ้านปราสาทเยอ หมู่ 2 ต.ปราสาทเยอ อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ จัดการศึกษา 3 ช่วงชั้นตั้งแต่ระดับอนุบาล 2 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

 

3. สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคม

             ประชากรในเขตบริการ ของโรงเรียนบ้านปราสาทเยอมีประชากร  รวมทั้งสิ้น  4,498 แยกเป็นชาย   จำนวน   2,260    คน  และหญิง จำนวน  2,238 คน โดยมีประชากรวัยเรียน (อายุ 4- 17  ปี)  ที่อาศัยอยู่ในเขตบริการ  จำนวน   614  คน หรือร้อยละ   13.65  ของประชากรทั้งหมด 

            ลักษณะภูมิประเทศที่ตั้งของโรงเรียนบ้านปราสาทเยอ สามารถสรุปโดยสังเขป ได้ดังนี้              

             สภาพทางภูมิศาสตร์ของชุมชน  บริเวณที่ตั้งบ้านเรียนในชุมชนเป็นที่ดอน  บริเวณโดยรอบชุมชนเป็นที่ราบลาดเอียงไปด้านทิศตะวันออก  มีลำห้วยสาขาไหลผ่าน  2  สาย ได้แก่ห้วยทา  และห้วยตาเหมา  สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย  เหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรม

            การคมนาคมขนส่ง  

             ในเขตบริการของโรงเรียนบ้านปราสาทเยอ   คมนาคมทางรถยนต์ ตัดผ่านโรงเรียน  ปัจจุบันนับว่า สะดวกและรวดเร็วเนื่องจากมีโครงข่ายการคมนาคมสะดวกและรวดเร็ว ซึ่งประกอบด้วย  ถนนพยุห์ขุนหาญ   เป็นถนนสาย 211   (ลาดยาง)   2   ช่องทางการจราจร

การเศรษฐกิจ

             สภาพเศรษฐกิจโดยรวมของพื้นที่ภายในเขตบริการของโรงเรียนบ้านปราสาทเยอประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ได้แก่  การทำนาปลูกผัก  ปลูกหอมแดง   ปลูกยางพารา  และการทำสวนผลไม้ การเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ โค  กระบือ  เป็ด  ไก่  ส่วนใหญ่เลี้ยงไว้ใช้งานและบริโภคในครัวเรือน   อาชีพเสริมของชุมชน  ได้แก่ การรับซื้อ - ขาย ของเก่า (วัสดุที่ไม่ใช้แล้ว) การทอผ้าไหม  การจักสาน  ผู้ปกครองส่วนใหญ่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรับซื้อ–ขายของเก่าประชากรส่วนใหญ่มีฐานะทางเศรษฐกิจในระดับปานกลางรายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว 20,000   บาท

        

4. การบริหารจัดการและแนวทางการจัดการศึกษา

             วิสัยทัศน์

       โรงเรียนบ้านปราสาทเยอ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ มีเป้าหมายในการดำรงชีวิต มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา มีทักษะการใช้เทคโนโลยี ทักษะการคิดเชิงคำนวณ มีทักษะชีวิต เห็นคุณค่าและเชื่อมั่นในศักยภาพความสามารถของตนเองและอนุรักษ์วัฒนธรรมชนเผ่าเยอ เป็นพลเมืองที่ดีต่อบ้านเมือง และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดโครงงานฐานวิจัย (RBL) ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียน เรียนรู้ผ่าน

ประสบการณ์และได้ลงมือปฏิบัติจริง  ผู้บริหารเป็นผู้นำทางวิชาการ บริหารงานแบบมีส่วนร่วม โดยชุมชนสนับสนุนงบประมาณภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้



พันธกิจ

       1. โรงเรียนบ้านปราสาทเยอจัดการศึกษา เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีสรรถนะ มีสุขภาพดีทั้งทางกายและทางใจ น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาชาติ   

มีคุณลักษณะความเป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข

                     2. โรงเรียนบ้านปราสาทเยอมุ่งพัฒนา ครูเป็น coach (ผู้ชี้แนะ) สร้างการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้โครงงานฐานวิจัย (RBL)

                     3. โรงเรียนบ้านปราสาทเยอเป็นโรงเรียนนำร่อง นวัตกรรมโครงงานฐานวิจัย ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษาอื่น

             4. ชุมชน องค์กร ภาครัฐ เอกชน และเครือข่าย มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

  เป้าประสงค์

       “ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมเพรียงสามัคคี รักษ์วิถีชนเผ่าเยอ” 

       1. Why: สอดคล้องกับฐานทุน ภูมิสังคมของโรงเรียนซึ่งมีพื้นที่บริเวณกว้าง และมีแหล่งเรียนรู้เกษตร แหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นในบริเวณใกล้เคียง

       2.How: โรงเรียนใช้นวัตกรรมโครงงานฐานวิจัย จัดกระบวนการเรียนรู้โดย ให้ผู้เรียน ปฏิบัติ ลงมือทำงานอย่างมีความสุขเหมาะสมกับช่วงวัย 

       3.What: นักเรียนเป็นคนรุ่นใหม่ในศตวรรษที่ 21 ที่ร่วมสร้างชุมชนเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ในทุกสถานการณ์ มีสมรรถนะในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และสร้างประโยชน์ต่อสังคม


                เอกลักษณ์

ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม น้อมนำ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่ภูมิปัญญาชนเผ่าเยอ

             อัตลักษณ์

         เกษตรพอเพียง หล่อเลี้ยงชีวี ตามวิถีชนเผ่าเยอ


ปรัชญาของโรงเรียน

       “สุตัง ปัญญายะ วัฒนะนัง” ความรู้เป็นเครื่องพัฒนาปัญญา

ปัญญาเป็นองค์ประกอบหรือคุณสมบัติสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตในยุคโซเชียลมีเดีย แห่งการเปลี่ยนแปลงที่ได้นำพานักเรียนก้าวสู่สังคมดิจิตอล การพัฒนาปัญญา เริ่มปฏิบัติไปตามกระบวนการของหลักไตรสิกขาเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดของชีวิต เริ่มจากหลักศีลสิกขา เพื่อให้เกิดวาจาชอบ การกระทำชอบและการประกอบอาชีพชอบ เป็นกรอบที่กำกับการกระทำกิจกรรมของนักเรียนให้เกิดความเรียบร้อยดีงาม จากนั้นยกขึ้นสู่ ระดับสมาธิสิกขา เพื่อให้จิตมีการพัฒนาความสำนึกให้เกิดความสมดุลระหว่างกายและจิต เป็นกระบวนการเกื้อหนุนให้สิ่งที่รับเข้ามาในชีวิตดำเนินไปด้วยประสิทธิภาพสูงสุด และกระบวนสุดท้ายคือ ปัญญาสิกขา เป็นวิธีการอบรมศึกษาเพื่อให้เกิดวิชาความรู้และปัญญา ซึ่งจะยังผลให้เกิดมีทัศนะความเชื่อ ค่านิยมที่ถูกต้องมีความดำริชอบถือได้ว่า เป็นกระบวนการพัฒนาปัญญาขั้นสูงสุด ที่จะควบคุมตนเองและสภาวะต่างๆ ที่กระทบเข้ามาสู่ชีวิตได้เป็นอย่างดีทำให้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้นมีจิตใจที่สงบ รู้เท่าทันสภาพของจิตใจของตน โดยไม่ให้ตกเป็นทาสสิ่งที่ยั่วยวนใจ อันจะนำไปสู่ความเสื่อมในชีวิต ทำให้รู้ว่า สิ่งไหนควรทำ สิ่งไหนไม่ควรทำ สิ่งไหนถูก สิ่งไหนไม่ถูก รู้จักหลีกเลี่ยงทางแห่งความเสื่อม และปฏิบัติตนให้อยู่แต่ในสิ่งที่เป็นกุศลธรรมตลอดไป